วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 2

วันศุกร์ ที่ 18 มกราคม 2562
ความรู้ที่ได้รับ

 การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์พูดถึงเกี่ยวกับการทำบล็อกที่ถูกต้องและรายละเอียดเพิ่มเติมจากเดิมรวมถึงอธิบายรายละเอียดของ  มคอ 3 และเกี่ยวกับรายวิขาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยอาจารย์ได้ให้หัวข้อที่เกี่ยวข้องมา 3 หัวข้อ ได้แก่  เด็กปฐมวัย  คณิตศาสตร์  และการจัดประสบการณ์ ซึ่งอาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนได้มีส่วนร่มแสดงความคิดเห็นของตนเกี่ยวกับหัวข้อต่างๆและอาจารย์ให้ทำmap ส่ง

ใบงานที่อาจารย์ให้ทำ 







บรรยากาศในห้องเรียน 

คำศัพท์ 

1. Early childhood                       เด็กปฐมวัย
2. Experience arrangement        การจัดประสบการณ์
3. Learning สาระการเรียนรู้
4. Brain function                         การทำงานของสมอง
5. Learning                                 การเรียนรู้
6. mathematics                           คณิตศาสตร์
Experience plan แผนการจัดประสบการณ์
8 Evaluation การประเมินผล 9 environment    สภาพแวดล้อม
10 Skills ทักษะ


บรรยากาศในห้องเรียน
อากาศเย็นสบายมีพื้นที่เพียงพอ แต่ในการเรียนการสอนเป็นการนั่งเรียนกับพื้นซึ่งไม่สะดวกต่อการเขียนหนังสือทำให้ปวดหลังและเมื่อยง่าย มีอุปกรณ์เพีงพอต่อความจำเป็นในการเรียนการสอน เช่น โปรเจคเตอร์


วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 1


สรุปวิจัย

เรื่อง การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองผ่านชุดกิจกรรม 
สนุกกับลูกรัก

 1   ระดับพื้นฐานของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการส่งเสริมโดยรวมอยู่ในระดับดี มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 17.45 เมื่อพิจารณาจำแนกรายทักษะ   พบว่า   ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ด้านการเรียงลำดับ การเปรียบเทียบ  การรู้ค่าจำนวน 1-10 และการจัดหมวดหมู่ อยู่ในระดับดี
2    ระดับพื้นฐานของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการส่งเสริมมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและจำแนกรายทักษะ โดยก่อนการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยเป็น 12.90 คะแนน และหลังจากการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยเป็น 30.35 คะแนน
3    เด็กปฐมวัยทุกคนมีพัฒนาการทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์โดยรวมและจำแนกรายทักษะสูงกว่าการทดลอง


      
     

 บทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

การเรียนรู้คณิตศาสตร์
จากนิตยสารรักลูก
โดยเกตน์สิรี

เมื่อเจ้าตัวเล็กเริ่มท่องเลขได้ คนเป็นพ่อแม่ก็พากันปลื้มค่ะ ครั้นท่อง One Two Three…ได้อีก คราวนี้ปลื้มกันสุดๆ เชียวล่ะ แม้พอถามว่าลูกเข้าใจความหมายที่แท้จริงหรือเปล่า ว่า 1 และ 2 คืออะไร ถ้าเป็นผลไม้จะมีสักกี่ผล หรือเป็นสิ่งของจะมีสักกี่ชิ้น แล้วได้คำตอบ “ไม่รู้” ก็ตาม
 การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของลูกไม่ใช่แค่ท่องจำตัวเลข 1 2 3 4…10 หรือ 1 + 1 = 2 เท่านั้น แต่คณิตศาสตร์ คือการเรียนรู้เรื่องอื่นๆ เมื่อเขาเติบโตขึ้น
 รู้จัก Mathematic 
   ทุกวันนี้หมดยุคท่องจำ หรือมุ่งการเรียนรู้เฉพาะเรื่องจำนวนและตัวเลขแล้วค่ะ เพราะว่าคณิตศาสตร์สามารถเรียนรู้ได้ง่ายๆ จากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การเล่นกับลูก ไปเที่ยว หรือจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น นับต้นไม้ ใบไม้ ซึ่งมีทั้งการนับ ขนาด ปริมาณ น้ำหนัก การเปรียบเทียบ เรียนรู้เวลา และอื่นๆ มากมายที่สำคัญทุกสาขาอาชีพก็ต้องล้วนเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ บัญชี เทคโนโลยี การเมือง การปกครอง การทำนา ล้วนมีคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น

Mathematic Growing
เมื่อรู้ของเขตแล้วก็ส่งเสริมเจ้าตัวเล็กได้ตั้งแต่แรกเกิดค่ะ

ขวบปีแรก
 ลูกสามารถสร้างพื้นฐานทางคณิตได้ก่อนที่จะบวกหรือลบเป็นเสียอีก เขาสามารถเชื่อมโยงความคิดกับตัวเลขด้วยการตีความง่ายๆ เรียนรู้ว่ามีจมูกหนึ่งจมูก มีตาสองตา รู้จังหวะเคลื่อนไหวจากการคลาน ซึ่งความสามารถทางคณิตศาสตร์ของลูกถูกพัฒนาด้วยการกระตุ้นหรือการมีปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่ คนรอบข้างและสิ่งแวดล้อมรอบตัว สิ่งเหล่านี้จึงเป็นบันไดสำคัญที่จะพัฒนาไปสู่การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเจ้าตัวเล็กในช่วงวัยต่อไปค่ะ
 ขวบปีที่สอง
 เรียนรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น สามารถจัดประเภทสิ่งของได้ทำให้ลูกเข้าใจจำนวน ตัวเลข รู้จักนับนิ้วมือ 1 2 3 เรียนรู้ความแตกต่างของรูปทรง การจับคู่ รู้จักการใช้เหตุผล มีจินตนาการและเห็นการเชื่อมโยงของสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่ง เช่น เมื่อตีกลองเขารู้ว่าจะต้องมีเสียงดัง สิ่งเหล่านี้พ่อแม่ต้องกระตุ้นลูกบ่อยๆ จะทำให้เขาเข้าใจความหมายและรู้จักนำจินตนาการมาใช้ได้ดีขึ้น
 ขวบปีที่สาม
 ลูกจะเห็นการจับคู่เป็นเรื่องง่ายแล้วค่ะ วัยนี้จึงควรจัดกิจกรรมให้เด็กๆ ได้ใช้ทั้งความคิด ความมีเหตุผล และเห็นการเชื่อมโยงกันให้มากขึ้น เช่น ลูกมีตุ๊กตากี่ตัวจ๊ะ ลูกต้องการรถกี่คัน หรืออาจจะให้ลูกช่วยจัดโต๊ะอาหาร ให้อาหารสัตว์ หรือไปซื้อของ ลูกจะได้เรียนรู้ การจัดหมวดหมู่ การเปรียบเทียบ การจัดวาง เป็นต้น

ที่มา   http://archive.wunjun.com/children/7/86.html


ตัวอย่างการสอน 




สื่อคณิตศาสตร์