วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13

วัน ศุกร์ ที่ 3 พฤษภาคม 2562  เป็นการเรียนชดเชยในวันหยุดสงการนต์





ความรู้ที่ได้รับ 
           ในช่วงเเรกได้พูดคุยกันในส่วนของเนื้อหาที่เรียนไปและเนื้อหาที่จะเรียนในวันนี้คือเรื่องของสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ และได้ส่งงานในส่วนที่อาจารย์ได้มอบหมายไว้รวมถึงได้ทำแผนผังหน่วยการเรียนการสอนโดยอาจารย์ได้อธิบายและให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และทำแผนผังหน่วยการเรียนรู้ในรูปแบบของมายเเมพ  เรื่องไก่ มีชื่อสายพันธุ์ ลักษณะ การดำรงชีวิต ประโยชน์ และโทษ ตามหัวข้อที่กำหนด โดยเวียนขวา และอาจารย์ได้ให้การบ้านทำหน่วยการเรียนรู้ในรูปแบบแผ่นผับ 

รูปภาพกิจกรรม  

งานที่ได้รับมอบหมาย




หน่วย ไก่
คำศัพท์ 
1   unit หน่วย
2 Brochures แผ่นผับ
3  Learning การเรียนรู้
4 Mathematics คณิตศาสตร์
5 Subject สาระ
6  importance ความสำคัญ
7 diagram แผนผัง
8 Content เนื้อหา
9 compensate           ชดเชย 
10 Songkran Dayวันสงกรานต์


งานที่ได้รับมอบหมาย
หน่วย ผัก











งานที่ได้รับมอบหมาย


ประเมิน

ประเมินตนเอง
ตั้งใจฟังแลพะทำตามงานที่ได้รับมอบหมายได้

ประเมินเพื่อนร่วมห้อง
เพื่อนตั้งใจทำงานและบางครั้งเสียงดังไปบ้าง

ประเมินอาจารย์
            อาจารย์อธิบายและชี้แจงในส่วนต่างๆได้เข้าใจ คอยให้คำแนะนำในส่วนของงานที่ได้รับมอบหมายและในอนาคต




วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

วันศุกร์ ที่ 19 เมษายน 2562

ความรู้ที่ได้รับ
         วันนี้ได้เรียนรู้ด้วยตัวเองโดยการค้นคว้าหาข้อมูลมาสรุปอย่างละเอียดในแต่ละหัวข้อ
หัวข้อที่ศึกษาวันนี้คือ   คู่มือการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (สสวท.)

เว็บไซต์   http://earlychildhood.ipst.ac.th/wp-content/uploads/sites/25/2014/09/Math-framework-for-ECE.pdf


สรุปเนื้อหาสาระในคู่มือ  มีดังนี้


          ความสำคัญของคณิตศาสตร์
   เด็กปฐมวัยเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ช่างสังเกตและชอบเล่นสิ่งต่างๆรอบตัวคณิตศษสตร์สามารถพัฒนาเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจธรรมชาติรอบตัวและสิ่งต่างๆรอบตัว การที่เด็กมีความรู้ความเข้าใจมีกระบวนการทางคณิตศาสตร์และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ไม่เพียงส่งผลให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เท่านั้นแต่จะส่งผลต่อในศาสตร์อื่นๆ  คณิตศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญทั้งในการเรียนรู้และมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต


การเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
    มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมทางด้านคณิตศาสตร์อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ระดับชั้นประถมศึกษาโดยกำหนดสาระที่จำเป็นไว้ดังนี้
- จำนวนและการดำเนินการ
            จำนวน  การรวมกลุ่ม  และการแยกกลุ่ม
การวัด
            ความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร  เงิน  และเวลา
- เรขาคณิต
            ตำแหน่ง  ทิศทาง ระยะทาง  รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
- พีชคณิต
            แบบรูปแลความสำคัญ
- การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
            การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ
- ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
            การแก้ปัญหา  การให้เหตุผล การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ
การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศษสตร์กับศาสตร์อื่นๆและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์


สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
เป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กรวมทั้งเป็นแนวทางในการกำกับ  ตรวจสอบ และประเมินผล
มาตรฐานการเรียนรู้จัดให้อยู่ภายใต้สาระหลัก ดังนี้
สาระที่  1  จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป. 1.1  :  เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
สาระที่  2  การวัด
มาตรฐาน ค.ป. 2.1  :  เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว  น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
สาระที่  3  เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 3.1  :   รู้จักใช้คำบอกตำแหน่ง  ทิศทาง และ ระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป. 3.2  :  รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการ                                                 เปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัด                                          กระทำ
สาระที่ 4  พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 4.1  :  เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
สาระที่ 5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป. 5.1  : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม                                    และนำเสนอ
สาระที่ 6  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

หมายเหตุ
     ในระดับปฐมวัยยังไม่ได้กำหนดมาตรฐานของสาระที่ 6 แต่การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ครูควรสอดแทรกทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ตามความเหมาะสมกับระดับอายุ


คุณภาพของเด็กอายุ 3 ปี ควรมีความสามารถดังนี้
- มีความรู้ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้า
- มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลาสามารถเปรียบเทียบและใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบ
- สามารถบอกตำแหน่งของสิ่งต่างๆ รู้จักรูปทรง


คุณภาพของเด็กวัย 4 ปี ควรมีความสามารถดังนี้
- มีความรู้ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้า
- มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และสามารถเรียงลำดับ สามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน
- สมารถบอกตำแหน่งและแสดงตำแหน่งของสิ่งต่างๆ
- มีความรู้วามเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง


คุณภาพของเด็กอายุ 5 ปี ควรมีความสามารถดังนี้
- มีความรู้ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้า
- สามารถวัดและบอกความยาว น้ำหนัก ปริมาตร โดยใช้เครื่องมือและหน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐานสามารถเรียงลำดับชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์และบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สามารถบอกชนิดและค่าของเงินเหรียญและธนบัตร
- สามรถใช้คำบอกตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง และแสดงตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางของสิ่งต่างๆสามารถอธิบบายการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิต
- มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
- มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย


การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
   การจักประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อายุ 3-5 ปี ควรจัดในรูปแบบของกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการผ่านการเล่นเพื่อให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงเกิดความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ ครูผู้สอนหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเลี้ยงดูและพัฒนาการเด็ก ควรจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยคำนึงถึงความเหมาะสมและความสอดคล้องของวุฒิภาวะเด็ก


การวัดและการประเมินผล
  เพื่อรับรู้ พัฒนา และส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคลตามศักยภาพที่มีความแตกต่างกัน การวัดและประเมินผลเป็นกระบวนการต่อเนื่องและเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมปกติ ที่จัดให้เด็กในแต่ละวัน
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ควรยึดหลัก ดังนี้
1  ต้องกระทำอย่างต่อเนื่องและควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนการสอน
2  ต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์และตัวชี้วัดที่กำนดในแต่ละระดับอายุตามกรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์ปฐมวัย
3 การวัดและประเมินผลทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์มีความสำคัญเท่าเทียมกับการวัดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระ
4 การวัดและการประเมินผลต้องนำไปสู่ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับตัวเด็กรอบด้านโดยใช้เครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย
5 เป็นกระบวนการที่ส่งเสริมให้เด็กมีความกระตือรือร้นในการปรับปรุงและพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ของตน


รูปภาพกิจกรรม




















คำศัพท์ 
Measurement and evaluation การวัดและการประเมินผล
2  the device เครื่องมือ
3 Learning การเรียนรู้
4 experience ประสบการณ์
5 quality คุณภาพ
6 Ability ความสามารถ
7 Process กระบวนการ
8 chart แผนภูมิ
9 Position ตำแหน่ง
10  Subject สาระ  

ประเมิน  
ประเมินตนเอง 
  ทำงานตามที่ได้รับมอบหมายและข้อแนะนำต่างๆจากอาจารย์ได้

ประเมินเพื่อนร่วมห้อง 
  เพื่อนทุกคนทำงานตามคำสั่งได้ตรงเวลามีเพียงบางส่วนที่ช้าหน่อย

ประเมินอาจารย์ 
 อาจารย์คอยให้คำชี้แนะให้กับนักศึกษาทุกคน 

บรรยากาศในห้องเรียน 
  อากาศค่อนข้างร้อน พื้นที่ไม่เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา 





     


         




วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

วันศุกร์ที่  5 เมษายน 2562

ความรู้ที่ได้รับ 
     ความรู้ในเรื่องของรายละเอียดในส่วนของชิ้นงาน และการเก็บรักษาชิ้นงานเพิ่มเติมและในส่วนของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิการศึกษา 


กรอบมาตรฐานคุณวุฒิการศึกษา 



รูปภาพกิจกรรม 






คำศัพท์ 
Experience arrangement การจัดประสบการณ์
2 credit หน่วยกิต
3 Course หลักสูตร
4 plan วางแผน
5 understanding ความเข้าใจ
6 Operation การดำเนินการ
7  Supplementary teaching สอนเสริม
8 Teaching methods วิธีการสอน
lecture การบรรยาย 
10 assessment ประเมิน

ประเมิน 
ประเมินตนเอง 
  ตั้งใจฟังอาจารย์ ภายในห้องเรียน

ประเมินเพื่อนร่วมห้อง 
  เพื่อนตั้งใจฟังและไม่เสียงดัง

ประเมินอาจารย์ 
   สอบถามนักศึกษาในเรื่องต่างๆเข้าใจ

บรรยากาศในห้องเรียน 
ห้องไม่ร้อนและมีพื้นที่เพียงพอ 



วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10

วัน ศุกร์ ที่ 22 มีนาคม 2562 

ความรู้ที่ได้รับ 
       ส่งสื่อคณิตศาสตร์ พร้อมนำเสนอวิธีการต่างๆ และคำแนะนำจากอาจารย์เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขชิ้นงาน และส่งสัปดาห์ถัดไป 


รูปภาพกิจกรรม






คำศัพท์ 
Update ปรับปรุง
2  method วิธีการ
3  Media สื่อ
4  recommend แนะนำ
5  Week สัปดาห์
6  Step ขั้นตอน
7  Flower ดอกไม้
decorate ตกแต่ง
future board ฟิวเจอร์บอร์ด
10  Velcro ตีนตุ๊กแก


ประเมิน
ประเมินตนเอง
ตั้งใจฟังและรับคำแนะนำของอาจารย์เพื่อไปปรับปรุงชิ้นงานของกลุ่มตนเอง

ประเมินเพื่อนร่วมห้อง
เพื่อนทุกคนตั้งใจฟังอาจารย์และรับคำแนะนำของอาจารย์เพื่อไปปรับปรุงชิ้นงานของกลุ่มตนเอง

ประเมินอาจารย์
อาจารย์ให้คำชี้แนะชัดเจนและเข้าใจง่ายในการนำไปปรับปรุงชิ้นงานของนักศึกษาได้



บันทึกการเรียน ครั้งที่ 9

วัน ศุกร์ ที่ 15 มีนาคม 2562

ความรู้ที่ได้รับ
       วันนี้อาจารย์ให้ไปทำสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



รูปภาพประกอบ
























บันทึกการเรียน ครั้งที่ 8

วัน พุธ  ที่ 13 มีนาคม 2562  (ชดเชยวัน ศุกร์ ที่ 29 มีนาคม 2562)

ความรู้ที่ได้รับ 
    วันนี้อาจารย์ได้แจกวัสดุเพื่อนำไปทำสื่อคณิตศาสตร์ เป็นรายกลุ่ม และนัดวันส่ง

สื่อคณิตศาสตร์ 
ชื่อว่า  กราฟเส้น 

อุปกรณ์ที่ใช้ 
ฟิวเจอร์บอร์ด    1 แผ่นครึ่ง
กาวสองหน้า     1 อัน 
เคลือบใส          2 แผ่น
ไหมพรม            2 ม้วน 
กำมะหยี่            3 สี 
เทปสีอันเล็ก      3  ม้วน
กาวสองหน้าใหญ่ 1 อัน 
ที่เจาะ               1 อัน 
รูปภาพสื่อ         3  หมวด 



รูปภาพกิจกรรม 





คำศัพท์ 
1   future board ฟิวเจอร์บอร์ด
2  Tape กาวสองหน้า
3 Clear coating เคลือบใส 
4  Yarn ไหมพรม  
5  velvet กำมะหยี่
6 Small transparent tape เทปใส อันเล็ก
7 Piercing ที่เจาะ
8  Media สื่อPicture รูปภาพ
10  activities กิจกรรม

ประเมิน
ประเมินตนเอง
เลือกอุปกรณ์มาใช้ทำสื่อพอเหมาะ

ประเมินเพื่อนร่วมห้อง
ทุกคนต่างเลือกอุปกรณ์มาเพื่อใช้ทำสื่อกันและเสียงดังกันมาก

ประเมินอาจารย์
อาจารย์จัดหาอุปกรณ์มาได้เป็นจำนวนมาก

บรรยากาศในห้องเรียน
อากาศร้อน เนื่องจาก มีเพื่อนอยุ่จำนวนมาก และพื้นที่ไม่เพียงพอ

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

วันศุกร์ ที่ 8 มีนาคม 2562
ความรู้ที่ได้รับ
         
          วันนี้เรียนเกี่ยวกับการจัดทำสื่อตามสาระมาตราฐานทางคณิตศาสตร์ และเรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฏีเพียเจต์ และอาจารย์ได้นัดเรียนชดเชยในวันที่ 13 มีนาคม 2562  ของวันที่ 29  มีนาคม 2562

สาระมาตราฐานทางคณิตศาสตร์
            1.จำนวนและการดำเนินการ
            2.การวัด
            3.เรขาคณิต
            4.พีชคณิต
            5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
            6.ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 

               -  ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นการทำงานที่สัมพันธ์กับการทำงานของสมอง 
               ความรู้ ⇨ สมอง ⇨ ซึมซับ+รับรู้ ⇨ วิเคราะห์ ⇨ เกิดเป็นโครงสร้างความรู้ใหม่
การเล่น เป็นวิธีการที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้ของเด็กเมื่อเกิดการเรียนรู้จะทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็ก(ถ้าไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงแสดงว่าเด็กแค่เกิดการ รับรู้และเข้าใจ)

ทฤษฎีพัฒนาการของเพียเจท์
          1. ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences) เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น
          2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition) ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆ มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี หรือ เล็ก-ใหญ่
          3. ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree) เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสอง ปลาย เช่น ปานกลาง น้อย
          4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation) เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้
          5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function) ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง
          6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation) เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน

จำนวนและการดำเนินการ ซึ่งแต่ล่ะกลุ่มได้เสนอสื่อ มีดังนี้
          กลุ่มที่ 1 เรื่องตัวเลข
          กลุ่มที่ 2 จำนวน
          กลุ่มที่ 3 การวัด
          กลุ่มที่ 4 กราฟแท่ง 
          กลุ่มที่ 5 กราฟเส้น
          กลุ่มที่ 6 ความสัมพันธ์สองแก่น
          กลุ่มที่ 7 คานดีดจากไม้ไอติม
          กลุ่มที่ 8 ร้อยลูกปัดฝาขวด
          กลุ่มที่ 9 บวกเลขจากภาพ

รูปภาพกิจกรรม




คำศัพท์ 

1  theory ทฤษฎี
Mathematical Standards สาระมาตราฐานทางคณิตศาสตร์
3 development พัฒนาการ
4 knowledge ความรู้
5 measurement การวัด
6 Geometry เรขาคณิต
7 algebra พีชคณิต
8 Mathematical process กระบวนการทางคณิตศาสตร์
9 action การกระทำ
10 behavior พฤติกรรม

ประเมิน
ประเมินตนเอง
เข้าใจสาระการมาตราฐานทางคณิตศาสตร์ และงานที่มอบหมาย

ประเมินเพื่อนร่วมห้อง
เพื่อนตั้งใจฟังและตอบคำถามพร้อมรับงาน

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มอบหมายงานเข้าใจและอธิบายสาระมาตราฐานทางคณิตศาสตร์ให้นักศึกษาเข้าใจ

บรรยากาศในห้องเรียน
ห้องเรียนเย็นสบายมีพื้นที่เพียงพอต่อการเรียนการสอน