วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

วันศุกร์ ที่ 19 เมษายน 2562

ความรู้ที่ได้รับ
         วันนี้ได้เรียนรู้ด้วยตัวเองโดยการค้นคว้าหาข้อมูลมาสรุปอย่างละเอียดในแต่ละหัวข้อ
หัวข้อที่ศึกษาวันนี้คือ   คู่มือการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (สสวท.)

เว็บไซต์   http://earlychildhood.ipst.ac.th/wp-content/uploads/sites/25/2014/09/Math-framework-for-ECE.pdf


สรุปเนื้อหาสาระในคู่มือ  มีดังนี้


          ความสำคัญของคณิตศาสตร์
   เด็กปฐมวัยเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ช่างสังเกตและชอบเล่นสิ่งต่างๆรอบตัวคณิตศษสตร์สามารถพัฒนาเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจธรรมชาติรอบตัวและสิ่งต่างๆรอบตัว การที่เด็กมีความรู้ความเข้าใจมีกระบวนการทางคณิตศาสตร์และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ไม่เพียงส่งผลให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เท่านั้นแต่จะส่งผลต่อในศาสตร์อื่นๆ  คณิตศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญทั้งในการเรียนรู้และมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต


การเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
    มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมทางด้านคณิตศาสตร์อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ระดับชั้นประถมศึกษาโดยกำหนดสาระที่จำเป็นไว้ดังนี้
- จำนวนและการดำเนินการ
            จำนวน  การรวมกลุ่ม  และการแยกกลุ่ม
การวัด
            ความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร  เงิน  และเวลา
- เรขาคณิต
            ตำแหน่ง  ทิศทาง ระยะทาง  รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
- พีชคณิต
            แบบรูปแลความสำคัญ
- การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
            การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ
- ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
            การแก้ปัญหา  การให้เหตุผล การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ
การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศษสตร์กับศาสตร์อื่นๆและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์


สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
เป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กรวมทั้งเป็นแนวทางในการกำกับ  ตรวจสอบ และประเมินผล
มาตรฐานการเรียนรู้จัดให้อยู่ภายใต้สาระหลัก ดังนี้
สาระที่  1  จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป. 1.1  :  เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
สาระที่  2  การวัด
มาตรฐาน ค.ป. 2.1  :  เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว  น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
สาระที่  3  เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 3.1  :   รู้จักใช้คำบอกตำแหน่ง  ทิศทาง และ ระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป. 3.2  :  รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการ                                                 เปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัด                                          กระทำ
สาระที่ 4  พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 4.1  :  เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
สาระที่ 5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป. 5.1  : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม                                    และนำเสนอ
สาระที่ 6  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

หมายเหตุ
     ในระดับปฐมวัยยังไม่ได้กำหนดมาตรฐานของสาระที่ 6 แต่การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ครูควรสอดแทรกทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ตามความเหมาะสมกับระดับอายุ


คุณภาพของเด็กอายุ 3 ปี ควรมีความสามารถดังนี้
- มีความรู้ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้า
- มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลาสามารถเปรียบเทียบและใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบ
- สามารถบอกตำแหน่งของสิ่งต่างๆ รู้จักรูปทรง


คุณภาพของเด็กวัย 4 ปี ควรมีความสามารถดังนี้
- มีความรู้ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้า
- มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และสามารถเรียงลำดับ สามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน
- สมารถบอกตำแหน่งและแสดงตำแหน่งของสิ่งต่างๆ
- มีความรู้วามเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง


คุณภาพของเด็กอายุ 5 ปี ควรมีความสามารถดังนี้
- มีความรู้ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้า
- สามารถวัดและบอกความยาว น้ำหนัก ปริมาตร โดยใช้เครื่องมือและหน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐานสามารถเรียงลำดับชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์และบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สามารถบอกชนิดและค่าของเงินเหรียญและธนบัตร
- สามรถใช้คำบอกตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง และแสดงตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางของสิ่งต่างๆสามารถอธิบบายการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิต
- มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
- มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย


การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
   การจักประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อายุ 3-5 ปี ควรจัดในรูปแบบของกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการผ่านการเล่นเพื่อให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงเกิดความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ ครูผู้สอนหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเลี้ยงดูและพัฒนาการเด็ก ควรจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยคำนึงถึงความเหมาะสมและความสอดคล้องของวุฒิภาวะเด็ก


การวัดและการประเมินผล
  เพื่อรับรู้ พัฒนา และส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคลตามศักยภาพที่มีความแตกต่างกัน การวัดและประเมินผลเป็นกระบวนการต่อเนื่องและเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมปกติ ที่จัดให้เด็กในแต่ละวัน
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ควรยึดหลัก ดังนี้
1  ต้องกระทำอย่างต่อเนื่องและควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนการสอน
2  ต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์และตัวชี้วัดที่กำนดในแต่ละระดับอายุตามกรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์ปฐมวัย
3 การวัดและประเมินผลทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์มีความสำคัญเท่าเทียมกับการวัดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระ
4 การวัดและการประเมินผลต้องนำไปสู่ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับตัวเด็กรอบด้านโดยใช้เครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย
5 เป็นกระบวนการที่ส่งเสริมให้เด็กมีความกระตือรือร้นในการปรับปรุงและพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ของตน


รูปภาพกิจกรรม




















คำศัพท์ 
Measurement and evaluation การวัดและการประเมินผล
2  the device เครื่องมือ
3 Learning การเรียนรู้
4 experience ประสบการณ์
5 quality คุณภาพ
6 Ability ความสามารถ
7 Process กระบวนการ
8 chart แผนภูมิ
9 Position ตำแหน่ง
10  Subject สาระ  

ประเมิน  
ประเมินตนเอง 
  ทำงานตามที่ได้รับมอบหมายและข้อแนะนำต่างๆจากอาจารย์ได้

ประเมินเพื่อนร่วมห้อง 
  เพื่อนทุกคนทำงานตามคำสั่งได้ตรงเวลามีเพียงบางส่วนที่ช้าหน่อย

ประเมินอาจารย์ 
 อาจารย์คอยให้คำชี้แนะให้กับนักศึกษาทุกคน 

บรรยากาศในห้องเรียน 
  อากาศค่อนข้างร้อน พื้นที่ไม่เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา 





     


         




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น